ประวัติทุเรียน "หลง หลิน ลับแล"
เริ่มจาก "หลงลับแล"ซึ่งเป็นทุเรียนของ นางหลง อุประ แห่งบ้านเลขที่ 126 หมู่ 1บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
ส่วน "หลินลับแล"นั้นเป็นทุเรียนของ นายหลิน ปันดาล บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
ทั้ง 2 ครอบครัวได้นำเม็ดทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของลับแลไปปลูกที่เชิงดอย ปรากฏว่ากลายพันธุ์มาเป็นทุเรียนลูกเล็กเมล็ดลีบเล็กกว่าทุเรียนทั่วไป เปลือกบาง เนื้อมาก สีเหลืองเข้ม เนื้อแห้งละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน
- ต่อมาในปี พ.ศ.2520 ในงานประกวดทุเรียนที่จัดโดยเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ผลปรากฏว่า ทุเรียนของนางหลง ได้รับรางวัลที่ 1
- ส่วนของนายหลิน ปันดาล ได้รัรางวัลที่ 2 จากนั้นในปี พ.ศ.2521 เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ก็ประกาศรับรองพันธุ์ทั้ง 2 นี้ให้เป็นทุเรียนของจังหวัดและได้มีการเผยแพร่ให้ชาวลับแลปลูกทุเรียนทั้ง 2พันธุ์ดังกล่าว จนกลายเป็นผลไม้โด่งดังของ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
ผลผลิตตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ของทุกปี
ผลผลิตตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ของทุกปี
กรมทรัพย์สินฯขึ้นทะเบียนทุเรียนหลง หลินลับแลเป็นสินค้า GI(Geographical Indications) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นทรัพย์ทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อมโยง (Links) ระหว่าปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ธรรมชาติและมนุษย์ กล่าวคือ ชุมชนได้อาศัยลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ หรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ในประโยชน์ในกาผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว คุณลักษณะพิเศษนี้อาจหมายถึง คุณภาพ ชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะอื่นๆที่มาจากแหล่งภูมิศาสตรนั้นๆ